ข้ามไปเนื้อหา

Web Content Accessibility Guidelines

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นี่เป็นรุ่นแก้ไขเก่าของหน้านี้ ที่แก้ไขโดย Aewnaja (คุย | ส่วนร่วม) เมื่อ 08:40, 16 สิงหาคม 2550 (หน้าใหม่: {{ความสำคัญและที่มาของปัญหา}} ปัญหาของการเข้าถึงข้อมูลสารสนเ...) ลิงก์ที่อยู่หน้า (URL) ปัจจุบันเป็นลิงก์ถาวรซึ่งอาจแตกต่างจากรุ่นแก้ไขปัจจุบันมาก

แม่แบบ:ความสำคัญและที่มาของปัญหา ปัญหาของการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศสำหรับคนพิการ จะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของความพิการ เช่น คนพิการทางการเห็นที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อศึกษาหาข้อมูลข่าวสารในเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายนั้น คนพิการกลุ่มนี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการอ่านเว็บไซต์ต่างๆ ออกมาเป็นเสียง เช่น โปรแกรมอ่านเว็บไซต์ (Voice Browser) หรือโปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) แต่โปรแกรมดังกล่าวไม่สามารถอ่านข้อมูลบนเว็บไซต์ได้ครบถ้วน ส่วนปัญหาของคนพิการทางการได้ยินคือเว็บไซต์ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลเสียง จะไม่สามารถฟังเสียงได้ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการขาดโอกาสในการรับรู้ข่าวสาร หรือรับรู้ได้แต่ไม่เท่าเทียมกัน จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์ในต่างประเทศ โดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C) ให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์แบบ Universal Design (UD) ที่ทุกคนเข้าถึงได้ และได้กำหนดแนวทางการสร้างเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้